แก้วรัดเกล้า และ เมืองแมนสรวง - หัวใจแห่งการปกครอง
- Taliw
- Dec 13, 2014
- 1 min read
"แก้วรัดเกล้า" - "เมืองแมนสรวง" ...ฉันรู้จักนิยาย 2 เรื่องนี้ผ่านหน้ากระดาษหนังสือ "วันดีๆ" ...อาจเป็นเพราะชื่อที่ประณีตจนดูเหมือนชื่อนางเอก - พระเอกลิเก แต่ก็ต้องยอมรับว่าเพราะชื่อนี้จึงสะดุดตาสะดุดใจ และตราตรึงอยู่ในห่วงความคิด - ฉันต้องซื้อสองเล่มนี้มาอ่านให้ได้ แม้จะเป็นการพบกันเพียงไม่กี่บรรทัดก็ตาม แก้วรัดเกล้าและเมืองแมนสรวงเป็นเรื่องราวของ "เจ้า" ที่ปกครอง "แผ่นดินเวียงอมรา" เมืองสมมติที่สงบสุขและยังคงไว้ซื้อประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม - เป็นดั่งเมืองในอุดมคติของใคร หลายคน ...โดยเรื่องราวเริ่มต้นขึ้นจากความวุ่นวาย "ทางการเมือง" "แก้วรัดเกล้า" - เมื่อองค์น้อยอย่าง "แก้วรัดเกล้า" จำต้องดิ้นลนไปพบองค์ใหญ่ "เมืองแมนสรวง" ผู้เป็นพี่ชายที่เดินทางไปเจรจาทางการเมืองกับผู้เป็นอา "เจ้าแก้ว" ต้องเตือนสติองค์ รัชทายาทถึงเล่ห์กลฝ่ายตรงข้าม ไม่ให้ผู้เป็นพี่ตัดสินใจผิดพลาด - เพราะความสุขของประชาชนทั้งเวียงอยู่ในการตัดสินใจครั้งนี้ โดยเจ้าแก้วปลอมตัวเป็นนักศึกษา ผู้ช่วยเก็บข้อมูลประวัติศาตร์ให้กับดอกเตอร์หนุ่ม "โมกษธรรม" ที่กลับมาจากอังกฤษ เพื่อเขียนวิทยานิพน์ เรื่องศิลปะอิสานตอยใต้ โดยทั้งสองรู้จักกัน ผ่าน "สิงหาสน์" ผู้เป็นเพื่อนเจ้าแก้วและรุ่นพี่ของโมก ...เจ้าแก้ว - อาศัยการทำวิทยานิพนธ์ของ "โมก" เพื่อเข้าใกล้ปราสาทกลางป่าแถบชายแดนของสองประเทศ สถานที่ที่พี่ชายหลบซ้อนตัวอยู่ ...โมก - เพียงต้องการศึกษาศิลปะอิสานตอนใต้ เพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ ตลอดสองสัปดาห์ที่ต้องทำงานร่วมกัน ดอกรักก็ได้ผลิบานขึ้นกลางใจของทั้งสอง ...แต่ด้วยความเข้าใจผิด ผสานกับเรื่องราวทางการเมืองที่อลวนวุ่นวาย จึงทำให้ดอกรักที่ควรเติบโตอย่าง ราบลื่นมีอันสะดุด ...แต่ท้ายที่สุดแล้วรักแท้ย่อมชนะอุปสรรค์ เพียงแค่ "ความเข้าใจ" ที่มีให้กัน ส่วน "เมืองแมนสรวง" ระหว่างการเปลี่ยนถ่ายผู้ปกครอง เจ้าชายรัชทายาทก็ได้รับจดหมายน่าสงสารจากเด็กชายแถบปลายแม่น้ำคนหนึ่ง จดหมายที่บอกเล่าถึงความทุกข์ยากประชาชนตัว เล็กๆ ที่กำลังถูกไล่ที่ จนเจ้าสรวงต้องเดินทางไปตวจสอบด้วยตัวเอง ณ บ้านดอกปีบ เจ้าสรวงก็ได้พบกับ "ดอกปีบ" เจ้าของรีสอร์ตดอกปีบ หญิงสาวผู้ถูกกล่าวหา - นายหน้าหน้าเลือดและเป็นเจ้าของสถานที่ที่ซ่องสุม "นักวิชาการหัวก้าวหน้าที่ไม่นิยมเจ้า" - ณ บ้านดอกปีบ สถานที่ที่ก่อเกิดเรื่องราวมากมายทั้งดีและร้าย ...เจ้าชายรัชทายาทถูกลอบปลงพระชนน์ ณ ท่าน้ำแห่งนี้ แม้จะมีดอกปีบช่วยเหลือไว้ แต่ศัตรูที่แท้จริงนั้น เป็นศัตรูของใคร - เมืองแมนสรวง VS ดอกปีบ ...รถยนตร์พระที่นั่งถูกวางระเบิด ณ บ้านดอกปีบ ...เจ้าดิถี เจ้าอาของเจ้าสรวงถูกยิง ณ บ้านดอกปีบ ...นักวิชาการหัวก้าวหน้า ผู้ไม่นิยมเจ้ามาชุมนุ่มกันที่นี่ พร้อมแสดงความคิดเห็นถึงเจ้าอย่างรุ่นแรง ...ฯลฯ ปัญหาที่ถาโถมเข้ามาทำให้ "ดอกปีบ" คิดจะขายที่ดินของแม่นี้ทิ้ง แต่ที่ไม่อาจตัดใจขายได้ เพราะข้างกายดอกปีบยังคงมี "เจ้าสรวง" เป็นหลักยึด เป็น "พระสหายและไอ้เพื่อนยาก" ความ ใกล้ชิดจึงก่อเกิดดอกรักขึ้นในใจของทั้งสอง จนกระทั่งในคืนหนึ่งเจ้าสรวงพบ "ปืนและอาวุธ" มากมายที่ถูกซุกซ่อนไว้ใต้สะพานท่าน้ำ ณ บ้านดอกปีบ ความรู้สึกของเจ้าสรวงจึงเริ่มสั่นคลอน จนกระทั้งมีข่าวลือว่า "ดอกปีบและ เพื่อนนักวิชาการวางแผนลอบปลงพระชนน์องค์เหนือหัว" ดอกรักต้นนี้จึงหยุดเติบโต ...แต่ท้ายที่สุด "ความไว้ใจ" ที่ทั้งสองมีให้กันก็เอาชนะเหล่าวายร้ายได้ ดอกรักจึงเริ่มผลิดอกอีกครั้ง ..."แก้วรัดเกล้า" - การรักษาความดีแห่งคุณธรรมในการปกครอง เพราะการปกครองที่ดีคือการทำให้ประชาชนเป็นสุข มิใช่การใช้อำนาจที่มากล้นปล้นประชาชนตาดำๆ ..."เมืองแมนสรวง" - ผู้ปกครองต้องสร้างสมดุลระหว่าง "คนรุ่นใหม่ VS คนรุ่นเก่า" และ "ความเจริญทางวัตถุ (ทุนนิยม) VS ความดีงาม (คุณธรรม)" โดยเจ้าสรวงต้องรับมือกับบุคคล 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเจ้า, กลุ่มนักวิชาหัวก้าวหน้า และกลุ่มคนในเงามืด ผุ้ที่พร้อมจะกอบโกยผลประโยชน์ด้วยการทำลายบ้านเมือง แก้วรัดเกล้า ทำให้เราได้เห็นความพยายามของเจ้าองค์เล็กๆ ที่ดิ้นรนทำทุกอย่างให้ผู้ปกครองตัดสินใจไม่ผิดพลาด ขณะที่เมืองแมนสรวง ทำให้เห็นถึงความดีงามของผู้ปกครองที่ต้องรับ มือกับ "ทุนนิยม" และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างละมุนละม่อน มิใช่ใช้อำนาจจัดการทุกอย่างตามใจอย่างเบ็ดเสร็จ นอกจากนี้เมืองแมนสรวงยังทำให้เรามองเห็นภาพ "คนรุ่นใหม่" อย่างชัดเจน "...คนหนุ่มสาวที่ไม่สนใจปัญหาของใครอื่น ขอเพียงตัวเองอยู่รอด มีเงินใช้ อยู่ในสถานะที่ดีและสูงส่ง สามารถเที่ยวเล่นและทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ตามแต่ใจตัว เท่านี้ก็พอแล้ว พวกเขาไม่ สนใจว่าเวียงอมราจะปกครองด้วยระบอบอะไร ใครเป็นผู้นำ หรือสภาพสังคมในเวลานี้เป็นเช่นไร และจะพลิกผันแปรเปลี่ยนหรือโน้มนำไปในทางใด" คนรุ่นใหม่เช่นนี้หรือ ที่เป็นอนาคตของชาติ ...คนรุ่นใหม่ที่ไม่สนใจสิ่งใดนอกจากตัวเอง แล้วตัวเราละเป็นคนรุ่นใหม่แบบนี้หรือไม่ ### ผู้เขียน : ดวงตะวัน สำนักพิมพ์ : ดวงตะวัน

Commentaires